02-6934424   advanceclinic01@gmail.com    

ผิวแตกลาย, แผลเป็น, แผลเป็นนูน, หลุมสิว

E-matrix, ฉีดคีลอยด์ (Keloid), Subucision


E-Matrix

คือ นวัตกรรมในยุคปัจจุบันที่สามารถเปลี่ยนผิวด้วยระบบ Fractional RF ที่เหนือกว่า Fractional เลเซอร์แบบเดิมๆ E-Matrixจะทำงานกับผิวชั้นกลางโดยไม่ทำลายผิวชั้นบน จึงปลอดภัยในทุกๆสภาพผิว สามารถกำจัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพและ สร้างผิวใหม่ที่สดใสเยาว์วัยมากกว่าเดิม กระตุ้นการสร้างคอลลาเจน ทำให้ผิวกระชับ รูขุมขนเล็กลง แก้ปัญหาหลุมสิว ริ้วรอย ผิวแตกลาย ช่วยให้ผิวเรียบเนียน ผิวกระจ่างใส รวมทั้งการยกกระชับผิว เพิ่มการสร้างเซลล์ผิวใหม่ในปริมาณที่มากกว่าเดิม เพื่อมาทดแทนเซลล์ผิวเก่า ยังช่วยให้กระบวนการซ่อมแซมเซลล์ผิว และกระบวนการสร้างคอลลาเจนใหม่ได้อย่างรวดเร็วขึ้นหลังการรักษาอีกด้วย สัมผัสได้ถึงผิวใหม่ที่อ่อนโยน เนียนใสต่างจากผิวเดิม รวมทั้งผิวที่เรียบเนียนขึ้นและริ้วรอยที่จางลง ซึ่งเป็นผลมาจากการที่เรามีผิวที่แข็งแรงขึ้นด้วยคอลลาเจนในผิวที่มากกว่าเดิม

E-Matrix เหมาะกับผิวแบบไหน
เหมาะสำหรับคนที่มีปัญหารูขุมขนกว้าง,รอยสิว,รอยดำ,รอยแผลเป็น,รอยหลุมสิว สีผิวไม่สม่ำเสมอ,ผิวไม่เรียบ,ริ้วรอยตื้นๆหรือกับทุกสภาพผิว

ข้อแนะนำในการรักษา
  • หลังทำจะเกิดรอยแดงและรู้สึกร้อนผ่าวๆ ได้ ประมาณ 2-3 ชั่วโมง  อาการจะค่อยๆ ดีขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากพลังงานจำนวนมากที่ลงไปกระตุ้นบริเวณผิวด้านล่างและหลังทำสามารถทามอยเจอร์ไรเซอร์เพิ่มความชุ่มชื้นได้ตามปกติ 
  • ควรหลีกเลี่ยงแสงแดดจัด หลังทำการรักษาอย่างน้อย 3 วัน เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียง ที่อาจเกิดขึ้นหลังการรักษาได้
  • หลังทำ 1-2 วันแรก เริ่มตกสะเก็ดบางๆ แล้วจะหลุดไปเอง ภายใน 1 สัปดาห์ สามารถแต่งหน้ากลบได้
  • หลังทำประมาณ 3-4 สัปดาห์หลังจากทำ จะเริ่มสังเกตเห็นได้ว่ารูขุมขนจะค่อยๆ กระชับ เรียบเนียนขึ้น ริ้วรอยดูจางลง และในครั้งแรกก็เป็นที่พึงพอใจ
  • เพื่อผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งๆขึ้น แนะนำให้ทำการรักษา 4-5 ครั้ง ขึ้นกับปัญหา ห่างกัน 4-6 สัปดาห์ สามารถมาทำซ้ำได้ทุก 6 เดือน หรือ 1 ปี


 
 

รักษาแผลเป็นนูน คีลอยด์ (Keloid) ด้วย Scarless Technique

แผลเป็นนูน ชนิด คีลอยด์ (Keloid) คือ แผลเป็นที่มีลักษณะนูนและแดง แต่มีความผิดปกติเมื่อร่างกายมีบาดแผล ผิวก็จะมีการสร้างเนื้อเยื่อซ่อมแซมที่มากเกินไป ทำให้เกิดการขยายตัวกว้างขึ้นเข้าสู่เนื้อเยื่อรอบๆ รอยโรค ขนาดของแผลจะกว้างกว่าแผลเดิมตอนเริ่มต้น และมีแนวโน้มที่จะขยายขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ


ภาพจำลองการเกิดแผลเป็นนูนคีลอยด์

เพศ วัย ที่พบ: มักพบใน
  • ผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
  • ผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก (ในวัยรุ่นและวัยเจริญพันธุ์จะมีโอกาสเกิดแผลเป็นได้บ่อยกว่าในวัยอื่นๆ)
  • คนผิวคล้ำจะมีโอกาสเกิดแผลเป็นได้บ่อยและรุนแรงกว่าคนผิวขาว
  • ผู้ที่มีประวัติการเกิดแผลเป็นและมีประวัติของครอบครัวมีแผลเป็น จะมีโอกาสเกิดแผลเป็นได้มากกว่าผู้ที่ไม่เคยมีประวัติ

ปัจจัยที่เป็นเหตุให้เกิดแผลเป็นนูน: ที่พบบ่อยๆ ได้แก่
  • แผลจากการเป็นสิว
  • แผลจากการเจาะหู
  • แผลปลูกฝี ฉีดวัคซีน
  • แผลผ่าตัดต่างๆ
  • แผลผ่าคลอด
  • แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
  • แผลถูกของมีคมบาด
  • แผลจากอุบัติเหตุ
  • แผลจากรอยสัก
ลักษณะทั่วไป : แผล เป็นนูนชนิดคีลอยด์จะมีขนาดใหญ่กว่าแผลเป็นธรรมดา และกว้างใหญ่กว่าแผลตอนเริ่มต้น มีลักษณะนูน แข็ง หรือหยุ่นคล้ายยาง ผิวมัน มองเห็นชัดเจนจากผิวหนังปกติ มีสีแดงเนื่องจากมีเส้นเลือดมาเลี้ยงเป็นจำนวนมาก แผลเป็นนูนชนิดคีลอยด์อาจจะมีอาการเจ็บ คัน ร่วมด้วย อาจจะกดแล้วเจ็บ ก้อนเนื้ออาจจะค่อยๆ โตขึ้นหรือคงที่แต่จะใหญ่กว่าแผลเดิม

สาเหตุ: แผล เป็นนูนเกิดจากการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเนื้อเยื่อผิวหนังส่วนที่เป็นแผล ผิวหนังมีการสร้างเนื้อเยื่อซ่อมแซมที่มากเกินไป จนทำให้เกิดการขยายตัวกว้างขึ้นมากกว่ารอยแผลที่เป็นอยู่ และพันธุกรรมมีส่วนทำให้เกิดรอยโรคได้

ตำแหน่งที่พบ: แผลเป็นนูนมักพบได้ทั่วร่างกาย ส่วนมากพบบริเวณผิวหนังที่ตึงตัว โดยจะเห็นมากบริเวณหลัง ไหล่ แขน ขา คอ หน้าอก และหลังหู

วิธีการรักษาแผลเป็นนูนแบบอื่น: มีหลายวิธีดังนี้
  1. การใช้ยาทาแก้แผลเป็น เช่น ยากลุ่มสเตียรอยด์ ยาที่มีวิตามิน E หรือ A เป็นส่วนประกอบ กรณีที่แผลเป็นนูนเป็นเพียงเล็กน้อยและไม่นานนัก
  2. การใช้แผ่นซิลิโคนเจลปิดบริเวณแผลเป็น สำหรับแผลเป็นที่เป็นใหม่ๆ เพื่อช่วยลดการขยายตัวของแผล
  3. การฉีดยาสเตียรอยด์ที่บริเวณแผลเป็น เพื่อให้แผลเป็นยุบลง แต่ต้องฉีดหลายครั้งจนกว่าแผลจะยุบและเรียบ
  4. การผ่าตัด เพื่อเอาแผลเก่าออกแล้วเย็บแผลใหม่อีกครั้ง ซึ่งอาจใช้ได้กับแผลเป็นบางชนิดเท่านั้น และควรทำกับแผลเป็นที่สมบูรณ์เต็มที่แล้ว ไม่ใช่แผลเป็นใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้น

ระยะเวลาการรักษา
4-8 ครั้ง โดยเว้นระยะในการับบริการ 3-4 สัปดาห์ต่อครั้ง ขึ้นอยู่กับลักษณะสภาพปัญหาของ และความถี่ในการรับบริการนั้นขึ้นอยู่กับ แผลเป็นนูน คีลอยด์ (Keloid) มีการตอบสนองของยาว่าเป็นอย่างไร

ข้อห้ามในการรับบริการ แผลเป็นนูน คีลอยด์ (Keloid) มีดังนี้

  • สตรีมีครรภ์ หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร
  • คนไข้โรคเบาหวานที่ต้องฉีดอินซูลินเป็นประจำ
  • คนไข้ที่มีประวัติโรคระบบหลอดเลือดผิดปกติในสมอง เช่น เส้นเลือดสมองตีบ หรืออุดตัน
  • คนไข้ที่มีประวัติภาวะความดันโลหิตต่ำ
  • คนไข้ที่มีประวัติโรคเลือดผิดปกติ โรคมะเร็ง
  • คนไข้ที่มีประวัติโรคหัวใจ และทำการรักษาด้วยยาหลายขนาน
 
 

Subcision

Subcision คืออะไร?
Subcision ไม่ใช่เลเซอร์ แต่เป็นเทคนิคการรักษาหลุมสิวที่ได้ผลดีมาก Subcision เป็นการใช้เข็มขนาดเล็กสอดเข้าไปใต้ผิว เพื่อตัดเซาะพังผืดที่รั้งหลุมสิวไว้ เมื่อพังผืดเหล่านี้ไม่สามารถยึดเกาะกับผิวหนังบริเวณหลุมสิวได้ ผิวบริเวณนั้นจะนิ่มขึ้นและลอยตัวขึ้นได้ง่าย หลุมสิวจะค่อยๆ ตื้นขึ้น

ความรู้สึกขณะทำ เป็นอย่างไร?
- ก่อนการทำ Subcision จำเป็นต้องทายาชาที่ผิวประมาณ 30-60 นาที ขณะทายาชาอาจรู้สึกระคายเคืองผิวบ้าง ขณะที่สอดเข็มเข้าใต้ผิวหนังเพื่อตัดเซาะพังผืดนั้น
- อาจรู้สึกเจ็บบ้าง มีเลือดซึมออกมาเล็กน้อย ขณะทำและหลังทำการรักษาต้องประคบเย็น เพื่อลดอาการบวมแดง

Subcision เหมาะกับใคร?
Subcision เหมาะกับผู้ที่ต้องการรักษาแผลเป็นหลุมสิวทั้งแบบตื้นและแบบลึก ผู้ที่ไม่ต้องการรักษาด้วยเลเซอร์ ผู้ที่ไม่ต้องการพักฟื้นหลังทำการรักษา
ผู้ที่ไม่ชอบการรักษาแบบลอกผิวหรือเปลี่ยนผิวใหม่

ต้องทำกี่ครั้งถึงจะเห็นผล?
หลุมสิวจะตื้นขึ้นหลังการรักษาครั้งแรกผ่านไปประมาณ 6 สัปดาห์ และจะเห็นความเปลี่ยนแปลงมากขึ้นหลังทำการรักษาต่อเนื่องประมาณ 3-5 ครั้ง ทุกๆ 3-6 สัปดาห์

ผลที่ได้เป็นอย่างไร?
Subcision จะทำให้แผลเป็นหลุมสิวทั้งแบบตื้นและแบบลึกตื้นขึ้นและแผลเป็นนิ่มลง

ผลข้างเคียงจากการทำ Subcision?
หลังทำ Subcision ผู้รับการรักษาสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ ไม่ต้องพักฟื้น แต่ผิวบริเวณที่ทำ Subcision จะเป็นสีแบบรอยช้ำเหมือนโดนกระแทก อยู่ประมาณ 7 วัน แล้วจะหายเป็นปกติได้เอง